หลวงปู่ทวดหลังหนังสือ. หลวงพ่อทวดหลังหนังสือ. เสริมสิริมงคล เสริมดวงชะตา แคล้วคลาด กระทําการสิ่งใดสําเร็จทุกประการ. เนื้อทองแดงรมดํา. ชนวนมวลสารมงคลทั่วประเทศ. ปลุกเสกโดย หลวงพ่อฟู วัดบางสมัคร, พระมหาสุรศักดิ์ วัดประดู่, หลวงพ่อชํานาญ วัดบางกุฎีทอง, หลวงพ่อวรา วัดโพธิ์ทอง. จัดสร้างโดย วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร เพื่อสมทบทุนสร้างเสนาสนะ วัดโพธิ์ทอง อ. สนามชัยเชต จ. ฉะเชิงเทรา. ของแท้ ผ่านพิธีการปลุกเสกแล้ว. รายละเอียด: เนื้อวัตถุมงคล: เนื้อทองแดงรมดํา. ขนาดวัตถุมงคล ก x ย x ส): 3 x 1.6 ซม. น้ําหนักวัตถุมงคล: 0.01 กก. ขนาดสินค้ารวมบรรจุภัณฑ์ ก x ย x ส): 9 x 14 x 6 ซม. น้ําหนักรวมบรรจุภัณฑ์: 0.5 กก. พระเกจิ: หลวงพ่อฟู วัดบางสมัคร, พระมหาสุรศักดิ์ วัดประดู่, หลวงพ่อชํานาญ วัดบางกุฎีทอง, หลวงพ่อวรา วัดโพธิ์ทอง. ชื่อวัด: วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร. พุทธคุณ: เสริมสิริมงคล เสริมดวงชะตา แคล้วคลาด กระทําการสิ่งใดสําเร็จทุกประการ. รายละเอียดวัตถุมงคล: พิธีบวงสรวงบูชาฤกษ์ และเททองนํากฤษ์หลวงพ่อโสธร ณ มณฑลพิธีหน้าวัดโสธรวราราม วันที่ 12 ต. ค. 2556. วาระที่ 1 พิธีเททอง และพิธีพุทธาภิเษกพระไพรีพินาศ. วาระที่ 2 พิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถคณะรังสี วัดบวรนิเวศวิหาร วันที่ 21 กันยายน 2556. วาระที่ 3 พิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งปวเรศย้อนยุค. ประวัติหลวงปู่ทวด. หลวงปู่ทวด หรือ สมเด็จเจ้าพะโคะ, หลวงพ่อทวดเหยียบน้ําทะเลจืด, สมเด็จเจ้าพระราชมุนีสามีรามคุณูปรมาจารย์ เป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทยจากตํานานท้องถิ่นซึ่งยังไม่ปรากฏหลักฐานในทางประวัติศาสตร์ยืนยันความมีอยู่จริง ประวัติที่พิมพ์เผยแพร่กล่าวว่าท่านเป็นพระเกจิอาจารย์รูปสําคัญในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้ที่ศรัทธาในหลวงปู่ทวดเชื่อกันว่าพระเครื่องที่สร้างเนื่องด้วยท่านจะมีอานุภาพสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองผู้มีพระเครื่องหลวงปู่ทวดในครอบครอง ปัจจุบันหลวงปู่ทวดถือได้ว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ในตํานานที่มีผู้ศรัทธาจํานวนมาก รูปสําคัญ 1 ใน 2 มหาเกจิอาจารย์ของเมืองไทย คู่กับ สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พฺรหฺมรํสี หลวงปู่โต ที่มีตัวตนจริง. เมื่อท่านเกิดมาแล้วก็มีเหตุอัศจรรย์เกิดขึ้นกับท่านเรื่อยมา เป็นต้นว่า ขณะที่ท่านอยู่ในวัยแบเบาะในช่วงฤดูเกี่ยวข้าวบิดามารดาของท่านต้องออกไปเกี่ยวข้าวที่กลางทุ่งนาซึ่งเป็นนาของเศรษฐีปาน ซึ่งท้องนาแห่งนั้นห่างจากบ้านประมาณ 2 กิโลเมตร ที่นาแห่งนั้นมีดงตาลและมะเม่าเป็นจํานวนมากครั้งนั้นจึงเรียกว่าทุ่งเม่า ปัจจุบันตั้งเป็นสํานักสงฆ์ชื่อนาเปล ในสมัยนั้นจึงมีสัตว์ป่าชุกชุมพอสมควร บิดามารดาของท่านจึงผูกเปลของท่านซึ่งเป็นเปลผ้าไว้กับต้นมะเม่าสองต้นและก็ได้เกี่ยวข้าวอยู่ไม่ไกลจากบริเวณนั้น พอได้ระยะเวลาที่นางจันทร์ต้องให้นมลูก นางจันทร์จึงเดินมาที่ที่ปลูกเปลของลูกน้อย และก็เห็นงูจงอางตัวใหญ่หรืองูบองหลาที่ชาวภาคใต้เรียกกันพันที่รอบเปล นางจันทร์เห็นแล้วตกใจเป็นอันมากจึงเรียกนายหูซึ่งอยู่ไม่ไกลนักมาดูและช่วยไล่งูจงอางนั้น แต่งูจงอางนั้นก็ไม่ไปไหนอิ นายหูและนางจันทร์จึงตั้งสัตยาธิฐานว่าขออย่าให้งูนั้นทําร้ายลูกน้อยเลย ไม่นานนักงูจงอางนั้นก็คลายวงรัดออกและเลื้อยหายไปในป่านายหูและนางจันทร์จึงเข้าไปดูลูกน้อยเห็นว่ายังหลับอยู่และไม่เป็นอันตรายใดๆ และปรากฏว่ามีเมือกแก้วขนาดใหญ่ที่งูจงอางคลายไว้อยู่บนอกเด็กชายปูนั้น เมือกแก้วนั้นมีแสงแวววาวและต่อมาได้แข็งตัวเป็นลูกแก้ว ปัจจุบันได้ประดิษฐานที่วัดพะโคะ เมื่อเศรษฐีปานทราบเรื่องเข้าก็บีบบังคับขอลูกแก้วเอาจากนายหูและนางจันทร์ บิดามารดาของท่านจึงจําต้องยอมให้ลูกแก้วนั้นแก่เศรษฐีปานซึ่งเป็นนายเงิน แต่ลูกแก้วนั้นเป็นของศักดิ์สิทธิประจําตัวท่าน เมื่อเศรษฐีปานเอาลูกแก้วไปแล้วก็เกิดเภทภัยในครอบครัวเกิดการเจ็บป่วยกันบ่อย และมีฐานะยากจนลง เศรษฐีปานจึงได้เอาลูกแก้วมาคืนและขอขมาเด็กชายปู และยกหนี้สินให้แก่นายหูและนางจันทร์ ทั้งสองจึงพ้นจากการเป็นทาสและต่อมาก็มีฐานะดีขึ้นๆ ส่วนเศรษฐีปานก็มีฐานะดีขึ้นดังเดิม. เมื่อท่านมีอายุได้ประมาณ 7 ขวบ พ. ศ. 2132 บิดามารดาของท่านจึงนําท่านไปฝากไว้เป็นศิษย์วัดเพื่อเล่าเรียนหนังสือ ที่วัดกุฎิหลวงหรือวัดดีหลวงในปัจจุบัน ซึ่งเป็นวัดอยู่ใกล้บ้านท่าน ขณะนั้นมีท่านสมภารจวง ซึ่งมีศักดิ์เป็นลุงของท่านเป็นเจ้าอาวาสอยู่ เด็กชายปูเป็นเด็กที่หัวดีเรียนเก่งสามารถเล่าเรียนภาษาขอมและภาษาไทยได้อย่างรวดเร็ว สมภารจวงได้บวชให้ท่านเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 15 ปี ตอนที่ท่านบวชเป็นสามเณรนี้เองบิดาของท่านจึงถวายลูกแก้วคืนให้แก่ท่านเป็นลูกแก้วประจําตัวท่านต่อไป. ด้วยความที่เป็นคนใฝ่เรียนใฝ่รู้ตลอดเวลาของท่าน ต่อมาท่านสมภารจวงได้นําไปฝากให้เล่าเรียนหนังสือที่สูงขึ้นสมัยนั้นเรียกว่ามูลบทบรรพกิจ ปัจบันก็คือเรียนนักธรรมนั่นเอง โดยนําไปฝากเรียนไว้กับสมเด็จพระชินเสน ซึ่งเป็นพระเถระชั้นสูงที่ส่งมาจากกรุงศรีอยุธยา ให้มาครองเป็นเจ้าอาวาสวัดสีคูยังหรือวัดสีหยังในปัจจุบัน ห่างจากวัดดีหลวงไปทางเหนือประมาณ 4 กิโลเมตร ท่านได้เรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและจบหลักสูตรที่วัดสีคูยังนั้น หลังจากนั้นท่านได้เดินทางเข้ามาศึกษาต่อที่เมืองนครศรีธรรมราชเพื่อเรียนหนังสือให้สูงขึ้น. โดยมาพํานักอยู่ที่วัดเสมาเมือง ซึ่งเป็นสํานักเรียนและมีสมเด็จพระมหาปิยะทัสสี เป็นเจ้าอาวาส และบรรพชาอุปสมบทเป็นพระสงฆ์เมื่ออายุครบกาลอุปสมบท ท่านได้ศึกษาวิชาจากครูบาอาจารย์ต่างๆ จนมีความรู้และเป็นผู้ทรงอภิญญามาก และได้แสดงปาฏิหาริย์หลายครั้ง ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์จากสมเด็จพระเอกาทศรศในครั้งสุดท้ายในราชทินนามที่ สมเด็จเจ้าพระราชมุนีสามีรามคุณูปรมาจารย์ สุดท้ายเมื่อท่านมีอายุได้ 80 ปี ท่านได้กลับมาจําพรรษาที่วัดพะโคะ วัดบ้านเกิดของท่าน ต่อมาท่านได้สั่งเสียกับลูกศิษย์ว่าเมื่อท่านมรณภาพให้นําพระศพท่านไปไว้ที่ อ. โคกโพธิ์ จ. ปัตตานี ต่อไปสถานที่ข้างหน้าจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ให้คนมาเที่ยว. อภินิหารและความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงปู่ทวด. มีตํานานและเรื่องเล่าเกี่ยวกับหลวงปู่ทวดแตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่น บ้างก็เล่าว่าระหว่าง